30 พ.ย. 2558

งู Snake

งูไทยใจกล้า : 13:46 | หัวข้อ :


งู (อังกฤษ: Snake, Serpent) 
เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น


จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes 
โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง


สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน 
โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา


ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว 


ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต


ประเภท 
ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานงูออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 18 วงศ์ 443 สกุล ประมาณ 2,700 ชนิด อยู่ในอันดับฐานหรืออันดับย่อย 2 อันดับ ซึ่งจำนวนชนิดนั้นยังไม่แน่ไม่นอน เนื่องจากมีการค้นพบชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี งูมีขนาดแตกต่างหลากหลายออกกันไปตั้งแต่ยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตรดูแลคล้ายไส้ดินสอดำหรือไส้เดือนดิน จนถึงยาวกว่า 10 เมตร น้ำหนักนับ 100 กิโลกรัม


วิวัฒนาการ
งูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมาจาก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในน้ำ อาศัยชีวิตบนบกบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ทางด้านสายของการวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในชั้น Reptilia ที่แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้ 


  • ลำดับ Testudines สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ เต่าชนิดต่าง ๆ (Turtles และ Tortoises) 
  • ลำดับ Crocodylia สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ จระเข้ (Crocodiles, Alligators และ Gavial) 
  • ลำดับ Rhynchocephalia สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ ตัว Tuatara ของนิวซีแลนด์ 
  • ลำดับ Squamata สามารถแบ่งลำดับของสัตว์เลื้อยคลานใน 
  • ลำดับ Squamata ได้ 3 อันดับย่อยด้วยกัน ดังนี้ 
  1. อันดับย่อย Lacertilia ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งจก (Lizards) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 3,000 ชนิด 
  2. อันดับย่อย Amphisbaenia มีจำนวนประมาณ 130 ชนิด 
  3. อันดับย่อย Serpentes ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทงู (Snakes) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 2,700 ชนิด

ลักษณะทั่วไป
ระบบภายนอกลักษณะภายนอกของงู อวัยวะภายนอก ลักษณะภายนอกของงูโดยทั่วไป มีอวัยวะประกอบด้วย ลำตัว งูมีลำตัวที่คล้ายหลอดกลมยาว ไม่มีแขน ขา หรือใบหู ลำตัวมีเกล็ดปกคลุมโดยตลอด ตา งูไม่มีเปลือกตาที่สามารถกะพริบได้เช่นตาคน ดังนั้นจึงดูเสมือนว่ามันไม่เคยนอน แต่จริงๆ แล้วงูนอน ในเวลาที่มันนอน รูตาดำ (pupil) ในตาของมันจะหดตัว พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อที่ควบคุมตาจะหย่อน ทำให้ตางูดูเสมือนว่าพลิกคว่ำ บางชนิดมีสายตาไม่ดี ปาก กล้ามเนื้อในปากสามารถยืด-ขยายได้ ทำให้สามารถอ้าปากได้กว้างกว่าขนาดหัวของมันได้หลายเท่าตัว ลิ้น งูสามารถแลบลิ้นออกมาจากปากที่ปิดสนิทได้ ซึ่งงูมีลิ้น 2 แฉก เพื่อใช้แสวงหาทิศทางของกลิ่นต่าง ๆ หาง หางของงูมีลักษณะที่ลดหลั่นขนาดลงมาจากลำตัว มีลักษณะเล็กกลมยาว ปลายแหลม


ระบบภายใน อวัยวะของงูส่วนใหญ่จะอยู่ในซี่โครงยาว ๆ ทั้งระบบการหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์[5] โครงสร้างภายใน อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของงู

1.หลอดอาหาร
2.หลอดลม
3.ปอดข้างขวา-ข้างซ้าย
4.ปอดข้างซ้าย
5.ปอดข้างขวา
6.หัวใจ
7.ตับ
8.กระเพาะอาหาร
9.ถุงลม
10.ถุงน้ำดี
11.ตับอ่อน
12.ม้าม
13.ลำไส้
14.ลูกอัณฑะ
15.ไต ‎ 


โครงสร้างของกระดูก ประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง ซี่โครง กระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังที่มากช่วยทำให้งู โค้ง หรืองอตัวได้ดี และมีความแข็งแรงสูงทำให้งูสามารถออกแรงบังคับกล้ามเนื้อบีบรัด โครงกระดูกสันหลังจะไม่เชื่อมต่อกับช่องท้อง มันจึงขยายตัวได้ง่ายเมื่อกินเหยื่อขนาดใหญ่ ระบบหายใจ งู หายใจเข้าและออก โดยผ่านปาก และหลอดลม เชื่อมกับปอดที่อยู่ด้านขวาข้างเดียว ยกเว้น พวก Boa และ Python ที่มีปอดซ้ายด้วย ช่วยในการหายใจ โดยปกติงูจะมีปอดขวาที่ใหญ่ โดยเฉพาะพวกงูน้ำ จะมีปอดข้างขวาใหญ่เป็นพิเศษ ช่วยควบคุมการลอยตัวน้ำได้ แต่งูบางสายพันธุ์ที่มีปอดด้านซ้าย ที่เชื่อมต่อกับปอดขวาจะทำให้งูชนิดนั้น เก็บอากาศได้มากว่าปกติ เมื่อต้องขยอกเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถหายใจได้ในเวลานั้น ทำให้มันสามารถกั้นหายใจได้นาน 

ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบการไหลเวียนโลหิตของงูเหมือนกับสัตว์ทั่ว ๆ เว้นแต่หัวใจมันมี 3 ห้องแทนที่จะมี 4 ห้อง 

ระบบการย่อยอาหาร 
กระบวนการย่อยอาหารของงูเริ่มจากที่ปาก เมื่องูกินเหยื่อก็จะขับน้ำย่อยออกมา งูบางชนิดที่มีพิษ มันจะขับพิษออกมาฆ่าเหยื่อ ลำคอและหลอดอาหารของมัน มีกล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยขับดัน อาหารไปยังกระเพาะที่มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้ดี ลำไส้ของมันจะมีขนาดใหญ่เป็นคด ๆ อาหารที่ไม่ย่อยจะถูกขับออกมาทางทวาร ระบบขับเหงื่อ งูไม่มีกระเพาะปัสสวะ ดังนั้นชองเสียจึงถูกกรองผ่านไต และขับกรดปัสสวะออกมา โดยเก็บน้ำใช้ไตกรองน้ำ เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้


ระบบสืบพันธุ์
งูมีการผสมพันธุ์เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ที่ใช้การผสมพันธุ์ภายในร่างกาย ตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ 1 คู่ มีลักษระยาวเรียว แต่ในเวลาผสมพันธุ์ จะใช้เพียงอันเดียว โดยปล่อยสเปิร์มจากถุงอัณฑะผ่านท่อปัสสวะไปยังรังไข่ของตัวเมีย ระบบประสาท ระบบประสาทของสมองและกระดูกสันหลัง จะเชื่อมต่อกันยาวเป็นเครือข่ายตลอดแนวสันหลัง ทั้งยังควบคุม Jacobson's Organ ในบางสายพันธุ์มีระบบความคุมความร้อนไวต่อความรู้สึก ความร้อน และแสงสว่าง ทำให้เกิดปฏิกิริยากับระบบประสาท


การเลื้อย

โดยปกติงูมีลักษณะการเลื้อย 4 แบบซึ่งปัจจัยสำคัญมากจาก ภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตทำให้มันมีลักษณะการเลื้อยที่ต่างกัน ดังนี้

  • เลื้อยแบบลำตัวตรง ส่วนใหญ่จะพบในจำพวกงูใหญ่ เคลื่อนไหวช้า โดยมันจะใช้กล้ามเนื้อท้อง ดึงตัวเป็นลักษระลูกคลื่น 
  • เลื้อยแบบคดเคี้ยว การเลื้อยแบบนี้เป็นการเลื้อย โดยปกติของงูทั่ว ๆ ไปบนพื้นหินหรือพื้น ที่ไม่สม่ำเสมอ 
  • เลื้อยแบบถีบตัว การเลื้อยแบบนี้จะเลื้อยบนพื้นที่มีลักษณะแน่น ใช้การขดตัวและถีบตัว ไปข้างหน้า 
  • การเลื้อยแบบแถก การเลื้อยแบบนี้จะเลื้อยบนพื้นทรายที่ หลวม ๆ และพื้นดินที่นุ่ม ๆ ใช้การโหย่งตัวขึ้นพ้นพื้น และดันตัวไปด้านข้าง

google+

linkedin

บทความที่ได้รับความนิยม