19 ธ.ค. 2558

งูสามเหลี่ยม Banded krait

งูไทยใจกล้า : 09:39 | หัวข้อ :


งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง

  • ชื่ออังกฤษ: Banded krait
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Bungarus fasciatus
  • เป็นชนิดของงูมีพิษชนิดหนึ่ง พบในอินเดีย, บังคลาเทศ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก


ลักษณะ
มีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว1 ถึง 2เมตร ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เลื้อยช้าแต่ว่ายน้ำได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวในน้ำ สีของลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองทั้งตัว เวลากัดไม่มีการแผ่แม่เบี้ยเหมือนงูในสกุล Naja 


ในประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค แต่จะพบได้มากในภาคใต้ รวมถึงป่าพรุโต๊ะแดงด้วย กินอาหาร จำพวก หนู, กบ, เขียด หรือปลา รวมถึงงูด้วยกันขนาดเล็กด้วย เช่น  งูกินปลา งูเขียว


หากินในเวลากลางคืน มักขดนอนตามโคนกอไม้ไผ่, ป่าละเมาะ, พงหญ้าริมน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากจะมีคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงู ซึ่งเป็นอาหารก่อน ปกติตอนกลางวันจะซึมเซา แต่ตอนกลางคืนจะว่องไว


มีพิษทำลายระบบประสาทและโลหิตรวมกัน 
เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไรฟันและไอเป็นเลือด 


มีการแพร่ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง


งูสามเหลี่ยมมักถูกเข้าใจผิดกับงูปล้องทองซึ่งเป็นงูพิษอ่อนไม่ถึงตาย

______________________________

ขอบพระคุณที่มาจาก
วิกิพิเดีย
google
รูปภาพทุกๆที่มาและทุกเครดิต

______________________________

google+

linkedin

บทความที่ได้รับความนิยม