19 ธ.ค. 2558

งูกะปะ Malayan pit viper

งูไทยใจกล้า : 15:00 | หัวข้อ :


งูกะปะ 
งูกะปะ (อังกฤษ: Malayan pit viper) เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calloselasma rhodostoma จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Calloselasma โดยไม่มีชนิดย่อย


ลักษณะและแหล่งหากิน
หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว มีสีเทาอมชมพูลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดมีขนาดใหญ่ จะงอยปากงอนขึ้นข้างบน
หากินเวลาพลบค่ำและกลางคืน โดยเฉพาะในเวลาที่มีความชื้นในอากาศสูง เช่น หลังฝนตก ชอบอาศัยในดินปนทรายที่มีใบไม้หรือเศษซากไม้ทับถมกันเพื่อซ่อนตัว


เป็นงูที่ไม่ปราดเปรียว เวลาตกใจจะงอตัวหรือขดนิ่ง แต่ฉกกัดรวดเร็วมาก กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, นก หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร


ออกไข่ครั้งละ 10-20 ฟองในตัวที่มีสีคล้ำเรียกว่า "งูปะบุก" 


กระจายพันธุ์
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนไปจนถึงแหลมมลายู สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดในภาคใต้ เป็นงูที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ในพื้น ๆ ที่มีการทำเกษตรกรรมได้ เช่น สวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน จึงมักจะมีผู้ถูกกัดอยู่บ่อย ๆ


เป็นงูพิษที่มีอันตราย
นับเป็นงูพิษที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดที่พบในประเทศไทย ซึ่งพิษของงูกะปะนั้นมีผลต่อระบบเลือด ทำให้เลือดออกมากผิดปกติ เมื่อถูกกัดภายใน 10 นาทีหลังบริเวณรอบแผลที่ถูกกัดจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง



โดยในรอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า ทำให้ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร ผู้ที่โดนกัดจะเสียชีวิตได้จากความดันโลหิตต่ำ ซึ่งความดันโลหิตต่ำ เกิดจากการเสีนเลือดนั่นเอง

google+

linkedin

บทความที่ได้รับความนิยม