22 ส.ค. 2560

งูหัวกะโหลก (Homalopsis buccata)

งูไทยใจกล้า : 19:53 | หัวข้อ :

งูหัวกะโหลก หรืองูเหลือมอ้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalopsis buccata (งูหัวกะโหลก, งูเหลือมอ้อ) (Linnaeus, 1758) งูหัวกะโหลก เป็นสกุลของงูพิษอ่อนจำพวกงูน้ำที่อยู่ในสกุล Homalopsis เดิมทีจัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวแต่ปัจจุบันได้มีการพิจารณาใหม่และจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่
1.Homalopsis buccata (งูหัวกะโหลก, งูเหลือมอ้อ) (Linnaeus, 1758)
2.Homalopsis hardwickii Gray, 1842 
3.Homalopsis mereljcoxi (งูหัวกะโหลกไทย) Murphy, Voris, Murthy, Traub & Cumberbatch, 2012 4.Homalopsis nigroventralis (งูหัวกะโหลกท้องดำ) Deuve, 1970
5.Homalopsis semizonata Blyth, 1855



งูหัวกะโหลกจัดเป็นงูน้ำ พิจารณาจากตำแหน่งรูจมูกที่อยู่ด้านบนของหัวเพื่อความสะดวกในการยื่นจมูกจากใต้น้ำขึ้นมาหายใจนั่นเอง แต่ในทางวิชาการมักจัดเป็นงูกึ่งน้ำเพราะว่าเกล็ดที่ท้องยังพัฒนาดี สามารถเลื้อยบนบกได้อย่างคล่องแคล่วนั่นเอง ในช่วงชีวิตส่วนใหญ่ของมันมักอยู่ในน้ำ แม้กระทั่งตอนออกลูก


ลูกงูแรกเกิดมีลายเหมือนตัวเต็มวัย แต่จะมีความต่างของสีมากกว่าโดยส่วนที่เป็นสีอ่อนในงูแรกเกิดมักเป็นสีชมพู เมื่อโตขึ้นสีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในงูขนาดใหญ่มากๆ(ประมาณ 2 เมตร) เราแทบจะไม่เห็นลายของงูเลย เนื่องจากระดับความเข้มของลายจะใกล้เคียงกันมาก


งูหัวกะโหลกในเขตภาคกลางขึ้นไปมักพบอาศัยตามแหล่งน้ำนิ่งหรือชายฝั่งแม่น้ำที่น้ำไม่เชี่ยวนัก แต่ในภาคใต้สามารถพบงูหัวกะโหลกได้ตามลำธารที่น้ำเชี่ยวโดยอาศัยซอกหินลำธารในการหลบซ่อนและป้องกันกระแสน้ำพัดพาไป


อาหารหลักได้แก่ ปลา กบ เขียด อาศัยการซ่อนใต้ผิวดินหรือซอกหินเพื่อรอเหยื่อเข้ามาในระยะไกลนักแล้วจึงฉกกัดทันที หรืออาจเคลื่อนตัวไปหาเหยื่อช้าๆจนถึงระยะประชิดแล้วฉกจับเหยื่อ


โดยรวมแล้วงูหัวกะโหลกจัดว่าเป็นงูที่ไม่ดุ แต่อาจมีการฉกบ้างในระยะแรกที่เผชิญหน้าแบบไม่มีที่ไป หรืองูจนตรอก แต่ถ้าเราสัมผัสอย่างอ่อนโยนแล้ว งูจะไม่ทำอันตรายแต่อย่างใด แม้ว่างูหัวกะโหลกจัดเป็นงูพิษ แต่ความรุนแรงของมันไม่เพียงพอที่จะทำอันตรายใดๆต่อมนุษย์เลย แต่สิ่งที่พึงระวังคือการติดเชื้อหลังถูกกัด ซึ่งอาจก่อผลกระทบที่ร้ายแรงได้ แม้โอกาสเกิดน้อยมากก็ตาม


ในปัจจุบัน งูหัวกะโหลกได้รับผลกระทบจากมนุษย์มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากงูจะถูกทำร้ายโดยตรงจากคนที่ขอทำร้ายไว้ก่อนหากเป็นงูแล้ว ยังมีจากการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูพิษอันตราย ในขณะเดียวกันงูหัวกะโหลกยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะหนังงูหัวกะโหลกนอกจากมีลายที่สวยงามแล้วก็ยังมีความหนา ทนทาน เหมาะในการทำเครื่องหนังอีกด้วย ผลกระทบอีกอย่างคือการถูกคุกคาม ทำลายที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ราบลุ่มภาคกลางที่ถูกถม ดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัย โรงงานต่างๆ และเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อมนุษย์เท่านั้น

ขอบพระคุณรูปภาพและที่มาของบทความ

google+

linkedin

บทความที่ได้รับความนิยม