7 ธ.ค. 2560

งูสิงหางลาย Banded rat snake

งูไทยใจกล้า : 12:19 | หัวข้อ :

งูสิงหางลาย
  • ชื่อไทย :  งูสิงหางลาย , งูสิงเสื่อ , งูสิงดง
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptyas mucosus (Linnaeus, 1758)
  • ชื่ออังกฤษ : Banded rat snake
  • เป็นงูพิษอ่อนไม่เป็นอันตรายต่อคน

ลักษณะ :  งูขนาดตัวใหญ่ (จากปลายปากถึงรูก้น 1,293 มิลลิเมตร และหางยาว 460 มิลลิเมตร) หัวยาวและส่วนของหัวกว้างกว่าลำคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวมน ตาใหญ่ ลำตัวกลมและยาว หางยาวและส่วนปลายหางเรียว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ด บนหลังทางส่วนต้นของลำตัวมีพื้นผิวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ด รอบลำตัวในตำแหน่งกึ่งกลางตัวจำนวน 17 เกล็ด เกล็ดท้องจำนวน 203 เกล็ด และเกล็ดใต้หาง จำนวน 121 เกล็ด ลำตัวมีด้านบนของหัวและบนหลังสีน้ำตาลอมเทา


หัวสีคล้ำกว่าลำตัว ส่วนปลาย ของหัวสีน้ำตาลจางหรือสีน้ำตาลเหลือง ขอบปากบนและขอบปากล่างสีน้ำตาลเหลืองแต่แผ่น เกล็ดมีขอบสีดำ ลำตัวมีขีดสั้นสีขาวกระจายตลอดความยาวของลำตัว และมีมากทางส่วนบนของ ลำตัวมากกว่าทางส่วนล่างของลำตัว ทางตอนกลางและทางด้านท้ายของลำตัวจนถึงปลายหาง (ประมาณ ¾ ของความยาวลำตัว) มีขีดสั้นสีดำเรียงซ้อนกันเป็นแถวลงทางส่วนล่างของลำตัวพาด ขวางเป็นระยะ ผิวหนังระหว่างแผ่นเกล็ดสีดำ ด้านท้องสีขาวและมีจุดสีน้ำตาลกระจายหนาแน่น อยู่ทางตอนท้ายของด้านท้อง ใต้หางสีขาวอมเหลือง


การแพร่กระจาย :  รัสเซีย จีน เนปาล อิหร่าน อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ เมียนมาร์ ลาว เวียตนาม กัมพูชา มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ



พื้นที่อาศัย : ตามพื้นล่างของป่า ป่าเต็งรังและในป่าดิบแล้ง 



นิสัย : ออกหากินเวลากลางวันบนพื้นดิน แต่เลื้อยขึ้นต้นไม้ได้ดี รวมทั้งว่ายน้ำได้ดี มีลักษณะการ ว่ายน้ำที่ชูส่วนหัวขึ้นมาพ้นผิวหน้าน้ำ


เหยื่อ :เป็นสัตว์หลายประเภทและไม่ได้จำกัดเฉพาะหนูตาม ชื่อเรียก (rat snake)  


เมื่อถูกรบกวนจะพยายามเลื้อยหนี แต่เมื่อไม่สามารถหนีได้ จะยกหัวและ ส่วนหน้าของลำตัวขึ้นมาสูงจากพื้นดิน แกว่งหางถี่ ส่วนของลำคอแบนทางด้านข้างและขยายกว้าง พับส่วนหน้าของลำตัวไป-มา พร้อมกับมีเสียงเพื่อขู่ไม่ให้เข้าใกล้ เป็นงูที่เลื้อยได้เร็วมากและมี ข้อด้อยในการใช้ลำตัวรัดเหยื่อเช่นเดียวกับงูสิงบ้าน สถานภาพ


เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2546 ที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และไม่มีสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ตาม เกณฑ์ของ Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (2005) และตามเกณฑ์ของ IUCN (2008)


ขอบพระคุณที่มาจาก  
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

google+

linkedin

บทความที่ได้รับความนิยม